เคล็ดไม่ลับ จับใจความสำคัญ สู่การพัฒนาการอ่าน และเขียน

การอ่านเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่สำคัญมากทั้งในการเรียน และการทำงาน ยิ่งโลกการทำงานด้วยแล้วการอ่านจับใจความสำคัญเป็นเครื่องมือสำคัญของคนที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานเลยก็ว่าได้ ยิ่งอ่านแล้วจับใจความได้เร็วกว่าก็จะสามารถวางแผนการทำงานได้ล่วงหน้าก่อน ได้เปรียบคนอื่นไปอีกโข แต่ถ้าใครจับใจความสำคัญไม่เก่งเรามีเคล็ดลับ

อ่านหัวข้อก่อนเสมอ

การจับใจความ

เวลาเราได้รับสารอะไรบางอย่าง เรามักจะมองข้ามหัวข้อของสารนั้นไป นั่นเป็นวิธีที่ผิดอย่างมาก การอ่านจับใจความที่ดีนั้นเราต้องอ่านหัวข้อสารก่อนเสมอ ว่ามันคือเรื่องอะไร เกี่ยวข้องอะไรกับเรา อีกทั้งการอ่านหัวข้อจะเป็นการจัดระเบียบสมองของเราให้ประมวลผลข้อมูที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นก่อนจะอ่านเนื้อเรื่อง ทำให้การอ่านเนื้อเรื่องเข้าใจได้รวดเร็วมากขึ้น

อย่าละเลยภาพประกอบ

เนื้อหา บทความ ข่าว หรืออะไรก็ตาม บางครั้งเค้าไม่ได้ให้มาแต่เนื้อหาอย่างเดียวอาจจะมีการแทรกรูปภาพ สัญลักษณ์ หรือ อะไรสักอย่างติดมาด้วย ก่อนจะอ่านแนะนำว่าให้ลองดูภาพ สัญลักษณ์เหล่านั้นเสียก่อนว่าเป็นอะไร การมองข้อมูลเหล่านี้ก่อนจะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่อ่านได้ดีขึ้น เร็วขึ้นกว่าเดิม จนทำให้การจับใจความสำคัญของเราทำได้เร็วขึ้นด้วย

ให้น้ำหนักคำสำคัญ

หากเราต้องการจับใจความจากเรื่องที่อ่านได้เร็วกว่า เราไม่ควรอ่านอย่างเดียว ปากกา หรือ ดินสอในมือต้องมีด้วย มีเพื่ออะไร คำตอบก็คือเราจะได้ใช้ของเหล่านี้วงกลม ขีดเส้นใต้ ทำสัญลักษณ์คำสำคัญ ประโยคสำคัญในเนื้อความเหล่านั้นได้ คำเหล่านี้จะช่วยขยายความ ไปจนถึงเน้นเนื้อหาในมือให้ชัดเจนกว่าเดิม เข้าใจได้เร็วด้วย

ตำแหน่งใจความสำคัญ

จับใจความสำคัญ เรารู้หรือไม่ว่า ใจความสำคัญอยู่ตรงไหนอันนี้ก็เป็นเรื่องที่เราต้องรู้ด้วย หากไม่รู้ก็เหมือนเล่นไล่จับที่ไม่มีวันชนะนั่นเอง สำหรับตำแหน่งใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้านั้น จะอยู่สองแห่งก็คือ ช่วงบรรทัดแรกของย่อหน้าไม่เกินประโยคที่สาม และตอนท้ายของเรื่องไม่เกินสองบรรทัดสุดท้าย ใจความสำคัญจะอยู่สองแห่งนี้ถามว่าอยู่ตรงกลางได้ไหมคำตอบก็คือได้เหมือนกัน แต่น้อยมากจะเป็นแบบนั้น

ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร

เมื่อเราอ่านสารเพื่อจับใจความได้แล้ว สิ่งที่จะต้องทำต่อไปนั่นคือการเรียบเรียงเพื่อออกมาเป็นใจความสำคัญของตัวเอง หากไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เราขอแนะนำว่า ให้เราตั้งคำถามต่อไปนี้ ใคร(ในเรื่อง กี่คน ชื่ออะไรบ้าง) ทำอะไร(ไปไหน เกิดเหตุการณ์อะไร ฯลฯ) ที่ไหน(สถานที่ในเรื่อง เนื้อหานั้น) อย่างไร(รายละเอียดพอสังเขป) หากเราสรุปตามนี้รับรองว่าใจความสำคัญมาครบแน่นอน สุดท้ายเราจะบอกว่าหากต้องการมีทักษะด้านการจับใจความสำคัญให้เร็ว อย่าลืมการฝึกฝนเด็ดขาด